การประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน

การประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ มีประโยชน์ในการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุโดยรวม เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ รวมทั้งวางแผนการดูแลและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุได้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป


ข้อแนะนำ
  • เป็นการวัดว่าผู้สูงอายุทำอะไรได้บ้าง (ทำอยู่จริง) ไม่ใช่เป็นการทดสอบ หรือถามว่าทำได้หรือไม่
  • เป็นการสอบถามถึงกิจกรรมที่ปฏิบัติในระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
  • เป็นการวัดระดับการพึ่งพิง หากต้องมีคนคอยดูแล หรือเฝ้าระวังเวลาปฏิบัติกิจให้ถือว่าไม่ได้คะแนนเต็ม
  • ถ้าหมดสติ ให้ 0 คะแนนทั้งหมด

1. Feeding (รับประทานอาหารเมื่อเตรียมสำรับไว้ให้เรียบร้อยต่อหน้า)

2. Grooming (ล้างหน้า หวีผม แปรงฟัน โกนหนวด ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมงที่ผ่านมา)

3. Transfer (ลุกนั่งจากที่นอน หรือจากเตรียงไปยังเก้าอี้)

4. Toilet use (ใช้ห้องน้ำ)

5. Mobility (การเคลื่อนที่ภายในห้องหรือบ้าน)

6. Dressing (การสวมใส่เสื้อผ้า)

7. Stairs (การขึ้นลงบันได 1 ขั้น)

8. Bathing (การอาบน้ำ)

9. Bowels (การกลั้นการถ่ายอุจจาระในระยะ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา)

10. Bladder (การกลั้นปัสสาวะในระยะ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา)